วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ดอกไม้เมืองหนาว(ดอกหรีดเชียงดาว)


ดอกหรีดเชียงดาว
 
 ชื่ออื่นๆ :  ไม่มี

ชื่อ วิทยาศาสตร์ : Gentiana leptoclada ssp. australis

ลักษณะ : เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเกลี้ยง สูง 40-80 ซม. ใบรูปไข่ กว้าง 1-1.3 ซม. ยาว 2-4 ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบจักเป็นฟันเรื่อย

 ดอก สีม่วงอมฟ้า ออกเป็นกระจุก 1-5 ดอก ที่ปลายยอดและซอกใบ  ดอกบานมีขนาด 2.5-3 ซม. กลีบรองดอกเป็นถ้วยตื้น ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ

ช่วง เวลาออกดอก  ต.ค. - ธ.ค.

แหล่งที่พบ : ดอยหลวงเชียงดาว  ความสูง 1,600 เมตร ขึ้นไป

ดอกไม้เมืองหนาว(forget me not)

ดอก forget me not

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cynoglossum lanceolatum Forssk.
ลักษณะ : ลำต้นแข็ง สูงประมาณ 0.5-1 เมตร มีกิ่งก้านแตกแขนงรอบลำต้น ใบเล็กเรียว ปลายแหลมโคนมน มีขนอ่อนปกคลุมทั้งสองด้าน
 ดอกสีน้ำเงินอมฟ้า 5 แฉก ออกตามปลายยอด มีหลายดอกทยอยบาน โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ
ช่วงเวลาออกดอก  ตุลาคม - ธันวาคม
แหล่งที่พบ : พบตามทุ่งหญ้าโล่ง ระดับความสูง 1,500 เมตรขึ้นไป


    
















 ดอกไม้ชนิดนี้มีตำนานเกี่ยวข้องกับความทรงจำเกี่ยวกับความรัก…ครั้งหนึ่งเมื่อนานมาแล้วในฝรั่งเศส ในสมัยของอัศวินเสื้อเกราะและนางใน อัศวินผู้กล้าหาญ ได้เดินชมจันทร์กับสาวงามนางหนึ่ง ณ ริมฝั่งแม่น้ำ ยอดหญิงของอัศวินได้มองเห็นดอกไม้เล็กๆขึ้นอยู่ริมตลิ่ง เธอวิงวอนให้เขา ลงไปเก็บให้ แต่ขณะที่เขากำลังเอื้อมเก็บดอกไม้ก็พลันลื่นไถลลงไปในแม่น้ำ เสื้อเกราะที่หนักทำให้เขาไม่สามารถว่ายน้ำได้ แต่ก่อนที่เขาจะจมหายไปในกระแสธาร เขาโยนดอกไม้ให้หญิงคนรัก และร้องตะโกนว่า " Ne m'oubliez pas "..อย่าลืมฉัน ดอกไม้ชนิดนี้จึงมีชื่อว่า forget me not ดอกฟอร์เก็ตมีน็อทยังมีความหมายว่ารักแท้ จึงมักปรากฏอยู่เสมอบนการ์ดวาเลนไทน์ที่คู่รักหนุ่มสาวมอบให้แก่กัน


ดอกไม้เมืองหนาว(ดอกเทียนนกแก้ว)

ดอกเทียนนกแก้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Impatiens psittaciana  Hook.f.
ลักษณะลำต้น : ไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี สูง 30-150 ซม. ลำต้นกลวงและเป็นข้อปล้อง แตกกิ่งก้านมากมาย
                        ลำต้นอ่อนสีม่วงอมแดงและอวบน้ำ ลำต้นแก่สีเขียวอ่อนสลับสีเขียวแก่
ลักษณะ ใบ : ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้นเป็นเกลียว รูปใบหอก หรือรูปไข่กว้าง กว้าง 2-4 ซม.
                       ยาว 4-6 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นหนามแหลมสั้น โคนใบมน ผิวใบเรียบ
ลักษณะดอก : ออกดอกเดี่ยวตามก้านใบและปลายยอด ดอกมีรูปร่างคล้ายนกแก้วกำลังกางปีกบินดูสวยงามสะดุดตา
ขนาดดอก 2-3 ซม. ดอกสีม่วงแกมแดงและขาว หรือสีชมพูเข้มแกมแดงและขาว กลางดอกมีแต้ม
สี เหลือง ดอกเป็นรูปหลอดกว้าง ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน สีชมพูอมขาวและมีจุดประ
สีม่วงแดง กลีบบนรูปขอบขนานมีขนาดยาวที่สุด ปลายกลีบแยกลึกเป็น 2 แฉก กลีบข้าง 2 กลีบแผ่
เป็นปีกแคบ กลีบล่างแผ่เป็นปีกกว้าง ปลายกลีบเว้าเป็น 2 พู เกสรตัวผู้มัดรวมกันลักษณะม้วนงอ
กลีบรองกลีบดอกเป็นรูปถ้วยปากบาน ส่วนโค้งเป็นถุง มีงวงน้ำหวานขนาดสั้นอยู่ท้ายสุด บริเวณที่ติด
 กับก้าน ดอกพองออกเป็นปีกโค้งกลม ๆ 2 ปีก ก้านดอกยาวได้ถึง 6 ซม. ออกดอกในราวเดือน
                         ส.ค. - ต้นเดือน ธ.ค.
ลักษณะผล : เป็นฝักยาวรูปกระสวย มีเมล็ดเป็นจำนวนมาก
แหล่งที่พบในไทย : เป็นพันธุ์ไม้หายากชนิดหนึ่ง พบขึ้นตามใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ในป่าดิบเขาหรือบริเวณโขดหินปูนที่อยู่สูง
จากระดับ น้ำทะเลตั้งแต่ 1,500-1,800 เมตร ปัจจุบันมีรายงานการพบเฉพาะบนดอยเชียงดาวจ.เชียงใหม่ เท่านั้น
แหล่ง กำเนิดและแพร่กระจาย : ประเทศไทย

ดอกไม้เมืองหนาว(กล้วยไม้แวนด้า)

กล้วยไม้แวนด้า

แวน ด้าเป็นกล้วยไม้ประเภทโมโนโพเดี้ยล ไม่แตกกอ เจริญเติบโตไปทางยอด รากเป็นรากอากาศ ใบมีลักษณะกลม แบนหรือร่อง ใบซ้อนสลับกัน ช่อดอกจะออกด้านข้างของลำต้นสลับกับใบ ช่อดอกยาวและแข็ง กลีบนอกและกลีบในมีรูปร่างคล้ายคลึงกัน โคนกลีบแคบ และไปรวมกันที่โคนเส้าเกสร กลีบดอกในล่างด้านใต้มีเดือยแหลมยื่นออกมาเป็นส่วนท้ายของปากกระเป๋า ปากกระเป๋าของแวนด้าเป็นแบบธรรมดาแบนเป็นแผ่นหนาแข็ง และพุ่งออกด้านหน้า รูปลักษณะคล้ายช้อน หูกระเป๋าทั้งสองข้างแข็งและตั้งขึ้น สีดอกมีมากมายแตกต่างกันตามแต่ละชนิด

กล้วย ไม้สกุลแวนด้าพบในป่าตามธรรมชาติประมาณ 40 ชนิด มีกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเซีย ตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย อินโดนีเซีย จนถึงฟิลิปปินส์ แวนด้าได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์ขึ้นอีกหลายพันธุ์ ปัจจุบันได้มีการจำแนกประเภทของแวนด้า โดยอาศัยรูปร่างลักษณะของใบออกเป็น 4 ประเภท คือ

แวน ด้าใบกลม มีลักษณะของใบกลมยาวทรงกระบอก ต้นสูง ข้อห่าง สังเกตได้ที่ใบติดอยู่ห่างๆ กัน มีดอกช่อละหลายดอก แต่ดอกจะบานติดต้นอยู่คราวละ 2–3 ดอกเท่านั้น เมื่อดอกข้างบนบานเพิ่มขึ้น ดอกข้างล่างจะโรยไล่กันขึ้นไปเรื่อยๆ การปลูกใช้ดอกจึงนิยมปลิดดอกมากกว่าตัดดอกทั้งช่อ

แวนด้าใบแบน ลักษณะใบแผ่แบนออก ถ้าตัดมาดูหน้าตัดจะเป็นรูปตัววี มีข้อถี่ปล้องสั้น ใบซ้อนชิดกัน ปลายใบโค้งลงและจักเป็นแฉก

แวน ด้าใบร่อง มีรูปทรงของใบและลำต้นคล้ายใบแบนมากกว่าใบกลม แวนด้าประเภทนี้ไม่พบในป่าธรรมชาติ การนำมาปลูกเลี้ยงเป็นพันธุ์ลูกผสมทั้งสิ้น โดยนำแวนด้าใบกลมมาผสมกับแวนด้าใบแบน

แวนด้าก้างปลา มีรูปทรงของใบและลำต้น กิ่งใบกลมกับใบแบน พบตามป่าธรรมชาติน้อยมาก เพราะกล้วยไม้พันธุ์นี้เป็นหมันทั้งสิ้น

ในบรรดาแวนด้าทั้ง 4 ประเภทนี้ แวนด้าใบกลมเป็นแวนด้าที่เลี้ยงง่ายที่สุด สามารถปลูกลงแปลงกลางแจ้งได้โดยไม่ต้องมีโรงเรือน แต่ดอกมักจะบานไม่ทน ส่วนที่เลี้ยงยากที่สุดคือ แวนด้าใบแบน มีหลายพันธุ์ ทั้งดอกใหญ่และดอกเล็ก แต่ที่ได้รับความนิยมได้แก่ ฟ้ามุ่ย เพราะดอกใหญ่ สีสวย การเลี้ยงแวนด้าใบแบนจำเป็นต้องมีโรงเรือนเพราะต้องการแสงที่พอเหมาะ สำหรับแวนด้าใบร่องเป็นลูกผสมระหว่างใบกลมและใบแบน ถูกผสมขึ้นเพื่อให้ปลูกเลี้ยงง่ายขึ้น แต่ดอกมักจะสีไม่สวยและปากหักง่าย

ดอกไม้เมืองหนาว(ดอกทิวลิป)

ดอกทิวลิป 
เป็นดอกไม้เมืองหนาวที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรป เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของฮอลแลนด์ มีอยู่หลายสี ดอกทิวลิปจะปลูกได้ต้องใช้อุณหภูมิที่เหมาะสม คือไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส
 
ที่มาของชื่อ

 
แม้ว่าทิวลิปจะเป็นดอกไม้ที่ทำให้นึกถึงฮอลแลนด์ แต่ทั้งดอกไม้และชื่อมีที่มาจากจักรวรรดิเปอร์เชียเปอร์เชีย لاله, “lâleh”) เช่นเดียวกับที่เรียกกันในตุรกี เป็นดอกไม้ท้องถิ่นของตุรกี, อิหร่าน, อัฟกานิสถาน และบางส่วนของเอเชียกลาง แม้ว่าจะไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้นำทิวลิปเข้ามาทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรป แต่ที่สำคัญคือตุรกีเป็นผู้ทำให้ทิวลิปมีชื่อเสียงที่นั่น เรื่องที่เป็นที่ยอมรับกันก็คือ Oghier Ghislain de Busbecqไปเป็นราชทูตของสมเด็จ พระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในราชสำนักของ สุลต่านสุลัยมานมหาราชแห่งจักรวรรดิออตโตมันในปี ค.ศ. 1554 Busbecq บรรยายในจดหมายถึงดอกไม้ต่างๆ ที่เห็นที่รวมทั้งนาร์ซิสซัส ดอกไฮยาซินธ์ และทิวลิปที่ดูเหมือนจะบานในฤดูหนาวที่ดูเหมือนผิดฤดู (ดู Busbecq, qtd. in Blunt, 7) ในวรรณคดีเปอร์เชียทั้งสมัยโบราณและสมัยใหม่ต่างก็ให้ความสนใจกับดอกไม้ชนิด นี้ ทิวลิปหรือ “lale” (จาก
คำว่า “tulip” ที่ในภาษาอังกฤษสมัยแรกเขียนเป็น “tulipa” หรือ “tulipant” เข้ามาในภาษาอังกฤษจากฝรั่งเศสที่แผลงมาจากคำว่า “tulipe” และจากคำโบราณว่า “tulipan” หรือจากภาษาลาตินสมัยใหม่ “tulīpa” ที่มาจากภาษาตุรกี “tülbend” หรือ “ผ้ามัสลิน” (ภาษาอังกฤษว่า “turban” (ผ้าโพกหัว) บันทึกเป็นครั้งแรกในภาษาอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และอาจจะมาจากภาษาตุรกีอีกคำหนึ่งว่า “tülbend” ก็เป็นได้)

ทิวลิป ในประเทศไทย

ในประเทศไทย สำนักงานเกษตรที่สูงดอยผาหม่น ได้ปลูกดอกทิวลิป ในพื้นที่เกษตรที่สูง ดอยผาหม่น ต.ตับเต่า อ.เทิง จ.เชียงราย ตั้งปี พ.ศ. 2549 เพื่อการท่องเที่ยว 

ความหมายของดอกทิวลิป

  • ทิวลิปสีแดง - เป็นดอกไม้แห่งการสารภาพรัก หากได้ดอกทิวทิวลิปสีแดงจากใครแสดงว่าคนผู้นั้นตกหลุมรักคุณแล้ว
  • ทิวลิปสีเหลือง - เป็นสัญลักษณ์แห่งความผิดหวัง


 

ดอกไม้เมืองหนาว(ดอกบ๊วย)

ดอกบ๊วย


ดอกบ๊วยหรือดอกเหมย คือดอก PRUNUS หรือดอก PLUM เป็นดอกไม้ดอกแรกของปี คือเริ่มบานในเดือนหนึ่ง ซึ่งเป็นฤดูหนาว และเป็นดอกไม้ชนิดเดียวของฤดูนี้

ดอกบ๊วย หรือคนจีนเรียกว่า "เหมยฮัว" มีความหมายถึงความชื่นบาน ความมีโชคและอายุยืนยาวกับความอ่อนเยาว์ที่ยืนยง เพื่อต้อนรับวสันตฤดูที่กำลังจะมาถึง

สามเกลอในฤดูหนาว (ดูหมายเหตุท้ายบทความ) จึงเป็นการสื่อถึงความหมายมงคล คือ ความมีอายุยืนหรือความยิ่งใหญ่ แต่ถ้าไผ่กับดอกเหมยอยู่ด้วยกันเพียงสองอย่าง จะหมายถึง มิตรภาพระหว่างเด็กชายและเด็กหญิงที่ไร้เดียงสาและบริสุทธิ์

สามเกลอที่มีมงคลอันดีงามนี้จะมีอยู่เพียงชนิดเดียวที่ปลูกได้ดีที่สุดในประเทศไทย คือต้นไผ่ จึงไม่น่าแปลกใจที่เราคนไทยหรือคนจีนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยจึงนิยมปลูกต้นไผ่ในบ้าน